รวมสุดยอดวรรณคดีไทย 10 เรื่อง

    มาดูกันว่าสุดยอดวรรณคดีเรื่องไหนที่คุณห้ามพลาด!    

  

 1.“ลิลิตพระลอ” ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของลิลิต”

ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีประเภทลิลิตที่มีเรื่อวราวเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมความรัก ที่แต่งขึ้นอย่างประณีตงดงาม มีความไพเราะของถ้อยคำ และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้อเรื่อง ที่มีฉากอย่างมากมาย หลากหลายอารมณ์ โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือโศกนาฏกรรม และแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต ลิลิตพระลอนี้เคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากนักวรรณคดีบางกลุ่ม เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์  

ลิลิตพระลอที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. 2459 ให้เป็นยอดแห่งลิลิต



2. “สมุทรโฆษคำฉันท์” (นิพนธ์โดย พระมหาราชครู สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส) ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของคำฉันท์”

สมุทรโฆษคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจาก วรรณคดีสโมสร ในสมัยรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นเรื่องที่แต่งดีเป็นเยี่ยมในกระบวนคำฉันท์ เป็นวรรณกรรมขนาดย่อม มีความยาว ของเนื้อเรื่อง 2,218 บท (นับรวมแถลงท้ายเรื่อง 21 บท ) กับโคลงท้ายเรื่องอีก 4 บท

สมุทรโฆษคำฉันท์นับเป็นหนึ่งในวรรณคดีไทย ที่มีประวัติอันยาวนาน สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จวบจนถึงช่วงต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีเนื้อหาแบบนิยายไทยทั่วไป ที่มีความรักและการพลัดพราก กวีได้สอดแทรกขนบการแต่งเรื่องไว้อย่างสมบูรณ์ ขณะเดียวกัน นักประวัติศาสตร์ยังใช้วรรณคดีเล่มนี้สำหรับการอ้างอิงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้านขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมด้วย




3. “มหาชาติกลอนเทศน์” ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของกาพย์”


 เป็นวรรณคดีพุทธศาสนา ได้เนื้อเรื่องมาจากเวสสันดรชาดกในอรรถกถาชาดก เนื่องจากเรื่องนี้เป็นที่นิยมใช้เทศน์และอ่านกันอย่างแพร่หลาย จึงมีผู้แต่งหลายสำนวน เรียกรวม ๆ กันว่า มหาชาติกลอนเทศน์
เมื่อ พ.ศ.2449 กรมศึกษาธิการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน) ได้คัดเลือกมหาชาติกลอนเทศน์สำนวนที่ดีนำมาจัดพิมพ์ทั้ง 13 กัณฑ์ เรียกว่า “ฉบับของกรมศึกษาธิการ” ปัจจุบันเรียกฉบับนี้ว่า “ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก”หรือ“มหาเวสสันดรชาดกฉบับ 13 กัณฑ์” ถือว่าเป็นฉบับที่มีสำนวนโวหารเด่นทุกกัณฑ์และยังใช้เป็นหนังสือเรียนในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการมาจนถึงปัจจุบัน

4. “สามก๊ก” ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ผู้อำนวยการแปล ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของความเรียงเรื่องนิทาน”


สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นแม่กองแปล ตั้งแต่ พ.ศ. 2345 และเป็นร้อยแก้วของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2417 ก่อนที่จะสังคมไทยจะได้อ่าน ความพยาบาท นิยายแปลโดยแม่วัน และ ละครแห่งชีวิต โดยหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ซึ่งถือเป็นนิยายเล่มแรกของวงวรรณกรรมไทย จึงเป็นนิยายร้อยแก้วที่เก่าแก่ที่สุดในสังคมไทย สำนวนภาษาตลอดจนค่านิยมดั้งเดิมล้วนปรากฏอยู่ทั่วไปในสามก๊ก ชนชั้นนำไทยแต่เดิมก็ถือว่าสามก๊กเป็นตำราการเมืองเสียด้วยซ้ำ คติทางสังคมหลายอย่างก็ถอดแบบมาจากสามก๊ก หนังสือเรื่องนี้จึงน่าเสพและศึกษาไปพร้อม ๆ กัน




5. 
“เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน” ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของกลอนสุภาพ”

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน เป็นนิทานมหากาพย์พื้นบ้านของไทย เค้าเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้สันนิษฐานว่าเคยเกิดขึ้นจริงในสมัยกรุงศรีอยุธยา แล้วมีผู้จดจำเล่าสืบต่อกันมา เนื่องจากเรื่องราวของขุนช้างขุนแผนมีปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า แต่มีการดัดแปลงเพิ่มเติมจนมีลักษณะคล้ายนิทานเพื่อให้เนื้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตามยิ่งขึ้น รายละเอียดในการดำเนินเรื่องยังสะท้อนภาพการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวสยามในครั้งอดีตได้อย่างชัดเจนยิ่ง เป็นกลอนเสภาที่ได้รับยกย่องให้เป็น ยอดของกลอนสุภาพ



6. 
“บทละครเรื่อง อิเหนา” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของบทละครรำ”


เรื่องอิเหนามีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีเรื่องเล่ากันว่าพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คือ เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงได้นางข้าหลวงมาจากปัตตานี นางข้าหลวงคนนี้ได้เล่านิทานปันหยีหรือเรืองอิเหนาของชวาถวาย เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงนำเค้าเรื่องมาแต่งเป็นบทละครเรื่องดาหลัง (อิเหนาใหญ่) ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎทรงแต่งเรื่องอิเหนา (อิเหนาเล็ก) ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาเป็นบทละครสำหรับใช้แสดงละครรำ และได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของบทละครรำ



7. 
“พระราชพิธีสิบสองเดือน” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของความเรียงอธิบาย”

        พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ใน รัชกาลที่ ๕ ในคํานําระบุว่า เป็นพระราชพิธีสําหรับ ปฏิบัติในพระนครซึ่งมีมา ตั้งแต่อดีต พระราชพิธีเหล่า นี้เกิดขึ้นจากความเชื่อในด้าน ไสยศาสตร์ที่มีการนับถือ พระเจ้าต่าง ๆ ในศาสนา พราหมณ์ และส่วนหนึ่งเกิด จากความเชื่อความศรัทธา ในพุทธศาสนาควบคู่กัน ดัง นั้นในพระราชพิธีบางอย่าง จึงเป็นการผสมผสานระหว่างพราหมณ์และพุทธ

          ในพระราชกําหนดกฎมณเฑียรบาลครั้งกรุงศรีอยุธยา ได้กล่าวถึงพระราชพิธีประจําเดือนทั้ง ๑๒ เดือนไว้ว่า เป็น กิจซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงทําเพื่อเป็นมงคลสําหรับพระนคร ทุกปีมิได้ขาด


8. “หัวใจนักรบ” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของบทละครพูด”

             หัวใจนักรบ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ.2456 เป็นบทละครพูด ปลุกใจคนไทยทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะให้ตระหนักถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ตลอดจนแสดงความสำคัญของเสือป่าและลูกเสือ วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของบทละครพูด เพราะมีโครงเรื่องและดำเนินเรื่องแนบเนียนไม่สับสน 



9. 
“พระนลคำหลวง” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของกวีนิพนธ์”

                พระนลคําหลวง เป็นพระราชนิพนธ์แปลในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระนลเป็นนิทานแทรกอยู่ในมหาภารตะ ซึ่งรจนาโดยฤาษีกฤษณไทวปายน หรือ ฤาษีวยาส มีชื่อเรื่องว่า "นโลปาขยานัม" ซึ่งเซอร์โมเนียร์ โมเนียร์ วิลเลียมส์ แปลความจากต้นฉบับโศลกภาษาสันสกฤตเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ฉบับภาษาอังกฤษของเซอร์โมเนียร์ โมเนียร์ วิลเลียมส์นี้ พระราชนิพนธ์เป็นวรรณกรรมคำหลวง ประกอบด้วยคำประพันธ์หลายชนิด ได้แก่ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เรื่องพระนลคำหลวงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๖ เสร็จลงเมื่อวันเสาร์ที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ทรงตรวจสอบแก้ไขและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ พระนลคำหลวงเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นหนังสือแต่งดีประเภทกวีนิพนธ์



10. “มัทนะพาธา” พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ได้รับการยกย่องว่าเป็น “ยอดของบทละครพูดประเภทคำฉันท์”

       เป็นบทละครพูดคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านวรรณคดีไทย ซึ่งล้วนแต่ไพเราะและมีคุณค่าต่อแวดวงวรรณคดีไทย หาผู้เสมอเหมือนได้ยากนัก


   นอกจากหนังสือทั้ง 10 รายชื่อที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “วรรณคดี” แล้วนั้น ยังมีหนังสืออีกหลายเรื่องที่ต่อมาก็ได้รับการยกย่องเป็นวรรณคดี เช่น “นิทานเบงคอลี” หรือนิยายเบงคลี ซึ่งเป็นผลงานแปลของเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป, “สาวเครือฟ้า”, “พระอภัยมณี”, “นิราศนรินทร์” เป็นต้น


อ้างอิง :https://campus.campus-star.com/variety/119673.html
            www.wikipedia






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เผยความรักอันยิ่งใหญ่ของ 5 แม่สุดแกร่งจากวรรณคดีไทย!

เรื่องย่อ ลิลิตพระลอ

ส่งงาน Blogger นาย วีรภัทร นารี เลขที่ 8